วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หลักสูตรและการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล


หลักสูตรและการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล

คุณลักษณะและศักยภาพผู้เรียนที่เป็นสากล
         การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล มุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  และเป็นไปตามปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO ได้แก่
          Learning to knowหมายถึง  การเรียนเพื่อให้มีความรู้ในสิ่งต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อไป ได้แก่ การรู้จักการแสวงหาความรู้ การต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ และรวมทั้งการสร้างความรู้ขึ้นใหม่
Learning to doหมายถึง  การเรียนเพื่อการปฏิบัติหรือลงมือทำ  ซึ่งนำไปสู่การประกอบอาชีพจากความรู้ที่ได้ศึกษามา  รวมทั้งการปฏิบัติเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม
Learning to live with  the  othersหมายถึง  การเรียนรู้เพื่อการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข  ทั้งการดำเนินชีวิตในการเรียน ครอบครัว สังคมและการทำงาน
Learning to beหมายถึงการเรียนรู้เพื่อให้รู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ รู้ถึงศักยภาพ ความถนัด ความสนใจของตนเอง  สามารถใช้ความรู้ ความสามารถของตนเองให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม  เลือกแนวทางการพัฒนาตนเองตามศักยภาพ  วางแผนการเรียนต่อ  การประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพตนเองได้
ทั้งนี้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ  ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก  เทียบเคียงได้กับนานาอารยประเทศ  โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีศักยภาพที่สำคัญ ดังนี้
1)        ความรู้พื้นฐานในยุคดิจิทัล (Digital-Age Literacy)  มีความรู้พื้นฐานที่จำเป็น
ทางวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ภาษา ข้อมูล และทัศนภาพ (Visual&Information) รู้พหุวัฒนธรรมและมีความตระหนักสำนึกระดับโลก (Multicultural literacy & GlobalLiteracy)
2)      ความสามารถคิดประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ (Inventive Thinking)  มี
ความสามารถในการปรับตัว สามารถจัดการกับสภาวการณ์ที่มีความซับซ้อน  เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้  สามารถกำหนด/ตั้งประเด็นคำถาม (Hypothesis Fomulation) เพื่อนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า  แสวงหาความรู้  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์ ข้อมูล สารสนเทศ  และสรุป
องค์ความรู้ (Knowledge fomation ) ใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3)       ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล  (Effective Comunication
ความสามารถในการรับและส่งสาร  การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา  ถ่ายทอดความคิด  ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง  เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และประสบการณ์  อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม  รวมทั้งมีทักษะในการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ  ตลอดจนสามารถเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
          4)  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  ความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม  สามารถจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและนำไปสู่การปฏิบัติ/นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม บริการสาธารณะ (Public Service )  ซึ่งหมายถึงการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก (Global Citizen)
          5)  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีการสืบค้นหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้และวิธีการที่หลากหลาย (Searching for Information) เลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี  เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม  ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม

การจัดทำหลักสูตร  และการจัดการเรียนการสอนสู่สากล
          การที่ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพดังกล่าวข้างต้น ย่อมต้องอาศัยหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม คือ จะต้องได้รับการออกแบบอย่างดี มีเป้าหมายและกระบวนการดำเนินงานที่เป็นระบบ  ด้วยความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน  หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากลเป็นหลักสูตรที่ใช้เป็นเป้าหมายและทิศทางในการยกระดับการจัดการศึกษาของทั้งโรงเรียน  มิใช่การจัดในลักษณะของแผนการเรียนสำหรับผู้เรียนเพียงบางส่วน  โดยการออกแบบหลักสูตรจะต้องสอดคล้องกับหลักการและแนวคิดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
พุทธศักราช  2551  ซึ่งผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาคุณภาพบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้  8  กลุ่มสาระ  และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนด  มีการพัฒนาต่อยอดลักษณะที่เทียบเคียงกับสากล  ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยโรงเรียนพิจารณาให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพความพร้อม  และจุดเน้นของโรงเรียน  ซึ่งมีความแตกต่างกัน
กระบวนการพัฒนาผู้เรียนสู่คุณภาพที่คาดหวัง
          ในการจัดการเรียนสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและศักยภาพความเป็นสากลดังที่ระบุไว้ข้างต้นคือ  เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ  มีทักษะในการค้นคว้าแสวงหาความรู้และมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็น  สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล  ตลอดจนมีทักษะชีวิต  ร่วมมือในการทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีนั้น  จะต้องมีกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  มีลำดับขั้นตอนอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น  โดยมีกระบวนการสำคัญในการจัดการเรียนรู้  ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น  “บันได 5 ขั้น ของการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล” ได้แก่
1.       การตั้งประเด็นคำถาม/สมมุติฐาน (Hypothesis  Formulation)  เป็นการฝึกให้ผู้เรียน
รู้จักคิดสังเกต ตั้งข้อสงสัย  ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผล
2.      การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ (Searching  for  Information) เป็น
การฝึกแสวงหาความรู้  ข้อมูล  และสารสนเทศ  จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลายเช่น  ห้องสมุด  อินเทอร์เน็ตหรือจากการปฏิบัติทดลอง  เป็นต้น
3.      การสรุปองค์ความรู้ (Knowledge  Formation) เป็นการฝึกให้นำความรู้สารสนเทศ
หรือข้อมูลที่ได้จากการอภิปราย การทดลอง มาคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเป็นองค์ความรู้
4.      การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective  Communication) เป็น
การฝึกให้ความรู้ที่ได้มานำเสนอและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดความเข้าใจ
5.      การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public  Service) เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ 
ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีความรู้ในบริบทรอบตัวและบริบทโลกตามวุฒิภาวะที่เหมาะสม  โดยจะนำ
องค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent  Study : IS) เครื่องมือสำคัญในการพัฒนา
การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามบันได 5 ขั้น ดังกล่าว สามารถดำเนินการได้หลากหลายวิธี
และการให้ผู้เรียนได้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  “Independent  Study : IS” นับเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการพัฒนาผู้เรียน  เพราะเป็นการเปิดโลกกว้างให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องหรือประเด็นที่ตนสนใจ  เริ่มตั้งแต่การกำหนดประเด็นปัญหา  ซึ่งอาจเป็น Public  Issue  และ  Global  Issue  และดำเนินการค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย  มีการวิเคราะห์  สังเคราะห์  การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  เพื่อนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้  จากนั้นก็หาวิธีที่เหมาะสมในการสื่อสารนำเสนอให้ผู้อื่นได้รับทราบ  และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าไปทำประโยชน์แก่สาธารณะ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันตลอดแนว  ภายใต้ “การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง   (Independent  Study : IS) ”ซึ่งจัดแบ่งเป็นสาระการเรียนรู้ 3 สาระ ประกอบด้วย   
         IS1-การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research  and Knowledge formation)  เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหา  ตั้งสมมุติฐาน  ค้นคว้า  แสวงหาความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้
         IS2-การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication  and  Presentation) เป็น
สาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับ  มาพัฒนาวิธีการถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิด  ข้อมูลองค์ความรู้ด้วยวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม  หลากหลายรูปแบบ  และมีประสิทธิภาพ
         IS3-การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม(Global  Education  and  Social Service Activity)  เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำ/ประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ  หรือไปใช้เกิดประโยชน์ต่อสังคม  เกิดบริการสาธารณะ  (Public  Service)
         โรงเรียนต้องนำสาระการเรียนรู้  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  (Independent  
Study:IS)ไปสู่การเรียนการสอน  ในลักษณะของรายวิชาเพิ่มเติม  หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางที่กำหนด  โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับบริบทและพัฒนาการ  วัยของผู้เรียน  ซึ่งอาจแตกต่างกันในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย  ตัวอย่างรายละเอียดนำเสนอในบทที่  4
เป้าหมายคุณภาพผู้เรียนในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
การพัฒนาผู้เรียนผ่านการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  (Independent  Study)  นั้น
ครูผู้สอนจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียน  กิจกรรมการเรียนรู้ 
ความยาก ง่ายของชิ้นงานภาระงานที่ปฏิบัติจะต้องเหมาะสม  เป้าหมายคุณภาพผู้เรียนแต่ละระดับที่กำหนดนี้  เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางที่ครูจะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและ
การประเมินผล

เป้าหมายคุณภาพผู้เรียนในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
คุณภาพผู้เรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1.  การตั้งประเด็นคำถาม/
สมมุติฐานอย่างมีเหตุผล(Hypothesis Formulation)




-  ตั้งประเด็น/คำถามในเรื่องที่ตนสนใจโดยเริ่มจากตัวเองเชื่อมโยงกับชุมชน ท้องถิ่น ประเทศ
-  ตั้งสมมุติฐานและให้เหตุผล โดยใช้ความรู้จากสาขาวิชาต่างๆ
-  ตั้งประเด็น/คำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสังคมโลก

-  ตั้งสมมุติฐานและให้เหตุผลที่สนับสนุนหรือโต้แย้งประเด็นความรู้จากสาขาวิชาต่างๆและมีทฤษฎีรองรับ


คุณภาพผู้เรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
2.  การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศหรือจากการปฏิบัติ ทดลอง (Searching for Information)

-  ศึกษา  ค้นคว้าแสวงหาความรู้เกี่ยวกับ สมมุติฐานที่ตั้งไว้จากแหล่งเรียนรู้หลากหลาย (เช่น  ห้องสมุด  แหล่งเรียนรู้ทางออนไลน์  วารสาร  การปฏิบัติทดลอง  หรืออื่นๆ)
ออกแบบ  วางแผน  รวบรวมข้อมูลโดยใช้ระบวนการรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
-  ใช้กระบวนการกลุ่มในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้ความรู้จากวิชาสาขาต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์

-  ทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายภายในกรอบการดำเนินงานที่กำหนด  โดยการกำกับดูแลช่วยเหลือของครูอย่างต่อเนื่อง

-  ศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ ข้อมูลและสารสนเทศโดยระบุ แหล่งเรียนรู้ ทั้งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ



-  ออกแบบ  วางแผนรวบรวมข้อมูลโดยใช้กระบวนการ    รวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
-  ใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้ความรู้จากวิชาสาขาต่างๆและพิจารณาความรู้อย่างมีวิจารณญาณเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์
-  ทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำแนะนำของครูที่ให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง

-  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีที่เหมาะสม
สังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้อภิปรายผลและเปรียบเทียบเชื่อมโยงความรู้

คุณภาพผู้เรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
3.  การสรุปองค์ความรู้ (Knowledge  Formation)








-  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการที่เหมาะสม
สังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้  อภิปรายผลและเปรียบเทียบเชื่อมโยงความรู้
-  เสนอแนวคิด  วิธีแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
-  อธิบายความเป็นมาของศาสตร์หลักการ  และวิธีคิดในสิ่งที่ศึกษาค้นคว้า
-  วิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม
-  สังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้อภิปรายผล  เปรียบเทียบเชื่อมโยงความรู้
-  เสนอแนวคิด  วิธีแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
4.  การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication)
















-  เรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดอย่างชัดเจน เป็นระบบ
-  นำเสนอในรูปแบบเดี่ยว (Oral individual)หรือกลุ่ม (Oral panel  presentation) โดยใช้สื่อประกอบหลากหลาย


-  เขียนรายงานการค้นคว้าศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการความยาว  2,500  คำ


-  อ้างอิงแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้อย่างหลากหลาย
-  เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ
-  เรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดอย่างสร้างสรรค์ เป็นระบบ
-  นำเสนอในรูปแบบเดี่ยว (Oral individual) หรือกลุ่ม (Oral panel  presentation) เป็นภาษาไทย  หรือภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อเทคโนโลยี ที่หลากหลาย
-  เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการเป็นภาษาไทยความยาว  4,00  คำ  หรือภาษาอังกฤษความยาว  2,00  คำ
-  อ้างอิงแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ทั้งในและต่างประเทศ
-  ใช้การสนทนา/วิพากษ์ผ่านสื่ออิเลคโทรนิค  เช่น
e-conference, social  media  online

คุณภาพผู้เรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
5.  การนำความรู้ไปใช้บริการสังคม

-  นำความรู้ไปประยุกต์สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อโรงเรียนและชุมชน
-  เผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จาก
การลงมือปฏิบัติเพื่อประโยชน์  ต่อโรงเรียนและชุมชน
-  นำความรู้ไปประยุกต์
สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคมและโลก
-  เผยแพร่ความรู้และ
ประสบการณ์ที่ได้จาก
การลงมือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและโลก

จัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษา (การจัดหลักสูตร)
          การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลที่กำหนด สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูผู้สอน
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากลออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ หรือหน่วยการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามกระบวนการ 5 ขั้นตอน หรือบันได 5 ขั้น ของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล ทั้งในรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งกระบวนการ 5 ขั้นตอน หรือบันได 5 ขั้น ของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง ได้แก่
        1. การตั้งประเด็นคำถาม / สมมุติฐาน
        2. การสืบค้นความรู้จากแหล่งการเรียนรู้และสารสนเทศ
        3. การสรุปองค์ความรู้
        4. การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
        5. การบริการสังคมและจิตสาธารณะ
          กระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และได้รับ
การพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ บรรลุตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล

          การจัดการเรียนรู้ IS (Independent Study) ในโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษา สามารถจัดได้ 2 ลักษณะ คือ จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม 2 รายวิชา ได้แก่ 1) รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1) เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะตาม IS1 ผู้เรียนเลือกประเด็นที่สนใจในการเรียนรู้ เพื่อกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างองค์ความรู้  และ 2) รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation: IS2) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากรายวิชา IS1 ผู้เรียนนำสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้มาเขียนรายงาน หรือเอกสารทางวิชาการ และนำเสนอเพื่อสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลความรู้นั้นให้ผู้อื่นเข้าใจ โดยจัดทำเป็นผลงานการเขียนทางวิชาการ 1 ชิ้น และการสื่อสารนำเสนอสิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นภาษาไทย 2,500 คำ มัธยมศึกษาตอนปลายเป็นภาษาไทย 4,000 คำ หรือภาษาอังกฤษ 2,000 คำ และจัดเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ โดยจัดกิจกรรมการนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity: IS3) ซึ่งเป็นการนำสิ่งที่เรียนรู้จากรายวิชาเพิ่มเติมทั้ง 2 รายวิชาข้างต้น ไปประยุกต์ใช้ในการทำประโยชน์ต่อสังคม
          ทั้งนี้ ตัวอย่างการจัดโครงสร้างและหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติมรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation: IS1) รายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ(Communication and Presentation: IS2) และกิจกรรมการนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity: IS3) เป็นเพียงตัวอย่างในการจัดการเรียนรู้เท่านั้น สถานศึกษาสามารถปรับรายละเอียดและกิจกรรมให้สอดคล้องเหมาะกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของผู้เรียน รวมทั้งพิจารณาถึงศักยภาพความพร้อมของสถานศึกษาและครูผู้สอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น